วัดสัตหีบ หรือที่ประชาชนทั่วไปรู้จักกันในนามวัดหลวงพ่ออี๋ แห่งเมืองสัตหีบ เป็นวัดที่อยู่ริมชายหาดสัตหีบ ติดค่ายทหารเรือ เป็นวัดที่่มีชาวพุทธ เขามาสักการะกราบไหว้ รูปปั้นหลวงพ่ออี๋ ตลอดเวลาที่เปิดทำการ มีห้องน้ำสะอาดให้บริการประชาชน
ประชาชนที่เข้ามาสักการะ ส่วนมากเป็นผู้ที่ศรัทธา ในความศักดิ์สิทธิ์ ของหลวงพ่ออี๋นั่นเอง
วัดสัตหีบ หรือ วัดหลวงปู่อี๋ ตั้งอยู่ในตัวอำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ด้านหลังวัดติดทะเล สร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยหลวงพ่ออี๋ หรือพระครูวรเวทมุนี เป็นผู้สร้างวัดนี้ขึ้นตั้งอยู่เลขที่ 333 หมู่ 1 ถนนชายทะเล ตำบลสัตหีบ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี
โดยวัดถูกสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ 2442 นายขำ และ นางเอียง ทองขำโยมบิดาและโยมมารดาของหลวงปู่ฯ ได้ขอพระราชทานที่ดินว่างเปล่าเป็นป่าไม้ที่ไม่มีเจ้าของ พระองค์ฯทรงอนุญาตให้สร้างวัดได้ ด้านเหนือติดทางเกวียน ด้านใต้ติดทะเลและด้านตะวันตกติดป่า ด้านตะวันออกติดที่ดินบ้านสัตหีบ โดยในปัจจุบันวัดนี้มีเนื้อที่จำนวน 30 ไร่ 28 ตารางวา ได้รับพระราชทาน วิสุงคามสีมาอุโบสถหลังแรกเมื่อวันที่ 21 กันยายน ร.ศ. 138 พ.ศ. 2463
หลวงพ่ออี๋ พุทธสโร ท่านเป็นอดีตเจ้าอาวาสวัดสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ท่านเป็นที่พึ่งในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่ 8 ของไทย อาจมีคนที่ยังไม่ลืมภาพอดีตนั้น ภาพของหลวงพ่ออี๋ที่ยกผ้าเหลืองโบกไปโบกมา พร้อมทั้งยืนบริกรรมพระคาถาอย่างสงบนิ่ง ลูกระเบิดที่หย่อนมาจากเครื่องบินฝ่ายสัมพันธมิตรหมายถล่มตลาดและฐานทัพเรือให้ราบเป็นจุล กลับเบี่ยงเบนปลิวไปตกในทะเลจนหมดสิ้น ไม่อาจทำลายฐานทัพเรือและชีวิตของประชาชนชาวอำเภอสัตหีบได้ นับแต่นั้นมาหลวงพ่ออี๋จึงได้รับการกล่าวนามถึงในความเข้มขลังศักดิ์สิทธิ์ ช่วยรักษาชีวิตให้รอดปลอดภัยกันถ้วนหน้า
พระครูวรเวทมุนี (หลวงพ่ออี๋ พุทธสโร) หรือปรากฏรนามที่รู้ทั่วๆไปว่า หลวงพ่ออี๋ เพราะท่านชื่อ ” อี๋ ” มาตั้งแต่แรก นามสกุล ” ทองขำ ” ท่านเกิดเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2408 ตรากับวันอาทิตย์ขึ้น 11 ค่ำ เดือน 11 ปีฉลู ตรงกับปลายรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นบุตรของนายขำ และนางเอียง ทองขำ ที่บ้านตำบลสัตหีบ กิ่งอำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี
เมื่ออายุได้ 25 ปี ท่านได้อุปสมบท ณ วัดอ่างศิลานอก (ซึ่งปัจจุบันได้ยุบรวมเป็นวัดอ่างศิลาเดียววัดเดียว) โดยมี
- พระอุปัชฌาย์ พระอุปัชฌาย์จั่น จนฺทสโร วัดเสม็ด
- พระกรรมวาจารจารย์ พระอาจารย์ทิม
- พระอนุสาวนาจารย์ พระอาจารย์แดง
พระอุปัชฌาย์ได้ฉายาให้ว่า ” พุทฺธสโร “
ได้อยู่ศึกษาธรรมมะและเวทมนตร์ต่างๆกับพระอาจารย์แดงถึง 6 พรรษา กอ่นไปฝากตัวเป็นศิษย์กับ หลวงพ่อปาน วัดคลองด่าน ซึ่งช่วงนั้นมีชื่อเสียงมาก และท่านยังได้ออกธุดงควัตรไปทั่วทุกภาคของประเทศไทย เมื่อบังเกิดความกล้าแข็งทางจิต สัมฤทธิ์ในธรรมแล้ว จึงเดินทางกับมาสร้างวัดสัตหับขึ้น ใช้เวลาเพียง 5 ปีจึงสมบูรณ์ ท่านได้ใช้วิชาอาคมอันแก่กล้ามาสร้างและปลุกเสกเครื่องรางของขลังต่างๆมาแจกกับศิษยานุศิษย์
ผู้ที่ทำหน้าที่ช่วยหลวงพ่ออี๋ ลงอักขระ และสืบทอดวิชาทำปลัดขิกได้แก่ อาจารย์บรรจบ (น้องชายแท้ๆ หลวงพ่ออี๋), หลวงตาจำเนียร สุขรุ่ง วัดสัตหีบ, หลวงพ่อหงุ่น วัดสัตหีบ, อาจารย์มั่น กิโล 10 นั้นคือรายนามศิษย์ที่อาศัยอยู่ภายในอารามเดียวกับหลวงพ่ออี๋
สำหรับศิษย์ที่มาขอเรียนวิชากับท่าน และออกไปทำปลัดขิกจนมีชื่อเสียงในเวลาต่อมา คือ หลวงพ่อทองอยู่ จนฺทสาโร วัดบางเสร่คงคาราม จ.ชลบุรี (หลวงพ่อรูปนี้สามารถทดลองวิชาทำปลัดขิกแล้วนำไปทิ้งในทะเล แล้วอธิษฐานให้ลอยทวนน้ำขึ้นไปหาหลวงพ่ออี๋ พระอาจารย์ของท่านมาแล้ว สำหรับหลวงพ่อทองอยู่นั้นหลวงพ่ออี๋ท่านชื่นชมมาก) หลวงพ่อลั้ง วัดอัมพาราม จ.ชลบุรี, หลวงพ่อสัมฤทธิ์ วัดอู่ทอง จ.สุพรรณบุรี, หลวงพ่อกี๋ วัดหูช้าง จ.นนทบุรี, หลวงพ่อเปี่ยม วัดทุ่งเหียง จ.ชลบุรี, หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่, หลวงพ่อเริ่ม วัดจุกกะเฌอ จ.ชลบุรี และรูปสุดท้ายที่ได้วิชาในช่วงท้ายของอายุของของหลวงพ่ออี๋ คือ หลวงพ่อชม วัดโป่ง จ.ชลบุรี
คำแนะนำ เพิ่มเติม
เมื่อเข้าไปในวัดสัตหีบ หรือวัดหลวงพ่ออี๋ ในบริเวณวัด มีร้านขายอาหาร และเครื่องดื่มอยู่ริมรั้ววัด และตัววัด อยู่ไม่ห่างจากชุมชน หากต้องการน้ำหรือเครืื่องอื่นๆ นอกจากที่มีขายในบริเวณวัด นักท่องเที่ยวสามารถเดินออกไปนอกรั้วทางฝั่งตะวันออ ก็เจอตลาด และขุมชน ที่มีของขาย ให้หาซื้อได้
เมื่อเข้าไปในศาลาทีป่ระดิษฐานรูปปั้นหลวงพ่ออี๋ และพระประธานประจำวิหาร มีจุดขายดอกไม้ธูปเทียน ทองให้ ทางด้านขวามือ ไม่มีการบังคับขาย หรือพูดเพื่อให้ต้องซื้อแต่ประการใด ทุกอย่างตามแต่ศรัทธาของท่าน ตามปกติ คนที่เฝ้า จะะป็นน้องๆ ทหารเรือที่มาช่วยในกิจการของวัด
ในวิหารจะมีพระพุทธรูปที่เป็นพระประธานขนาดใหญ่ และรูปปั้นของหลวงพ่ออี๋ให้สักการะ มีเซียมซีเสี่ยงทาย มีวัตถุมงคลให้เลือกเช่าบูชา ส่วนมากจะเป็นเกี่ยวกับ หลวงพ่ออี๋ และกรมหลวงชุมพร วัตถุมงคลอื่นๆ ก็มีบ้างเช่นกัน
ไหว้สักการะพระประธาน และหลวงพ่ออี๋ เสร็จแล้ว ด้านขวามือ มีสถูปสำคัญ ซึ่งเป็นจุดถวายสังฆทาน ใครอยากถวายสังฆทาน สามารถไปที่บนสถูปนั้นได้
เมื่อกลับลงมา อย่าลืมรับประพรมน้ำพระพุทธมนต์ ที่มีพระภิกษุ คอยประพรมให้ เพื่อเป็นสิริมงคลก่อนกลับ
มีเยอะตลอด คือ พ่อค้า แม่ค้าขายลอตเตอรี่ มีให้เลือกหลายแผง ทำบุญไว้พระ เสร็จแล้ว ออกมาเสี่ยงโชค เลือกซื้อเลือกหาได้ ราคาตามปกติ ทั่วไป ต่อรองกันเอาเอง
บริเวณวัด เป็นลานโล่ง สำหรับจอดรถ ไม่ค่อยมีต้นไม้ ให้หลบร่มเงา ดังนั้น เตรียมร่ม หรือหมวกไปด้วยก็ดี แม้การใส่หมวกหรือกั้นร่มในวัด ตามหลักความเชื่อโบราณเห็นเป็นเรื่องไม่เหมาะสม แต่ปัจจุบัน แดดร้อนมาก ใส่หมวก หรือกั้นร่มเดินตามลาน ไม่น่าจะเป็นเรืื่องน่าเกลียดหรือไม่สุภาพแต่ประการใด แต่หากเดินเข้าไปในศาลาที่ประดิษฐาน ก็ควรถอดหมวก หรือหุบร่มนะครับ เพื่อแสดงความเคารพต่อสถานที่และสิ่งศักดิ์สิทธิ์
หากปวดหนัก ปวดเบา ไม่ต้องห่วง เพราะมีห้องน้ำ ให้เขาได้ สองจุด และแต่จุด ก็สะอาดปลอดภัย มีรองเท้าให้เปลี่ยน มีตู้รับบริจาคอยู่ด้านหน้า เพื่อจะได้ไม่เป็นหนี้สงฆ์ หากมีใครถามว่า ตนเองไปเป็นหนี้สงฆ์ตั้งแต่เมื่อใด คำตอบก็คือ ตอนที่คุณเข้าไปขับถ่ายหนักเบานั่นแหละ เพราะใช้น้ำของวัด ช่วยบำรุงสักเล็กน้อย หรือเยอะๆ ก้ไม่เสียหายอะไร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น