วัดอโศการาม สมุทรปราการ

วัดอโศการาม มีที่ตั้ง ประมาณ ๕๓ ไร่ และเป็นที่ที่เมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๔๙๗ – พ.ศ. ๒๔๙๘ เป็นปีที่ท่านพ่อลี เริ่มก่อตั้งสำนักสงฆ์ขึ้นมา เพราะฉะนั้นภิกษุส่วนมากที่อยู่ตามป่าจะอยู่ในการดูแลของท่านพ่อลี และยึดแนววัตรปฏิบัติของท่านพ่อลี นาแม่ขาว เป็นชือตำบลเป็นที่ตั้งของวัดอโศการามปัจจุบัน ตามประวัติที่กล่าวไว้ในหนังสือชีวประวัติ พระสุทธธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์ (พระอาจารย์ลีธมฺมธโร) ความว่า” ที่ตั้งวัดอโศการามปัจจุบันนี้ เดิมเรียกว่า “นาแม่ขาว” เจ้าของที่ดินคือ นางกิมหงษ์ และนายสุเมธ ไกรกาญจน์ ได้ถวายที่ดินให้สร้างวัดเนื้อที่ประมาณ ๕๓ ไร่ เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๔๙๗ จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๔๙๘ จึงได้เริ่มตั้งสำนักขึ้นเป็นครั้งแรก โดยให้พระลูกศิษย์ คือพระครูใบฎีกาทัศน์ มาเฝ้าสำนักแทน พร้อมกับลูกศิษย์อีก ๕ รูป รวมมีพระที่สำนักนี้ในครั้งเริ่มตั้ง จำนวน ๖ รูป” เมื่อออกพรรษาและได้จัดงานพระราชทานเพลิงศพสมเด็จฯ เรียบร้อยแล้ว เป็นปี พ.ศ. ๒๔๙๘ ท่านพ่อลี จึงได้ออกไปจำพรรษาที่วัดอโศการาม

รูปปั้นพระเจ้าอโศกมหาราช
ในระหว่างนี้ได้เริ่มคิดดำริจัดงานฉลองสมโภช ๒๕ พุทธศตวรรษ ในปีพ.ศ. ๒๕๐๐ การดำริในเรื่องนี้ ท่านได้ดำริมานานปีแล้ว คือเริ่มดำริตั้งแต่ปีที่ได้เดินทาง ออกมาจากดงบ้านผาแด่นแสนกันดาร( เชียงใหม่) วัดอโศการาม ได้รับการพัฒนาสืบเนืองมาโดยลำดับ แม้หลังท่านพ่อลีได้มรณภาพไปแล้ว ( ปี พ.ศ. ๒๕๐๔)ได้มีการขยายพื้นที่ออกไป ทางด้านทิศตะวันออก ซึ่งเป็นสถานที่ตั้งของวิหารสุทธิธรรมรังสีในปัจจุบัน พร้อมกันนั้นก็ได้ทำการสร้างพระธุตังคเจดีย์ ที่ท่านพ่อได้วางแบบเอาไว้ให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี เป็นปูชนียสถานประดิษฐานพระบรมสารีริธาตุ ไว้เป็นที่สักการะของเหล่าเทวดา และมนุษย์ทั้งหลายชือว่า ” ธุตังคเจดีย์” เป็นเจดีย์หมู่ ๑๓ องค์วัดอโศการาม เป็นสถานที่ปฏิบ้ติธรรมกัมมัฏฐานภาวนา ที่ท่านพ่อลี ได้วางรากฐานไว้ เหล่าศิษยานุศิษย์ได้ปฏิบัติสืบไป

จากหมายเหตุที่ท่านพ่อได้ปรารภไว้ใน หนังสือชีวประวัติของท่าน ความว่า การตั้งชื่อวัดอโศการามนี้ มิใช่ได้คิดขึ้น ในคราวที่ตั้งได้คิดชื่อนี้ขึ้น ตั้งแต่ปีจำพรรษาอยู่ที่ตำบลสารนารถ เมืองพาราณสี ได้เอานามของท่านผู้มีคุณวุฒิ เป็นฉายาลักษณ์ของผู้ทรงคุณ ฉะนั้นจึงได้สร้างพระรูปนี้ขึ้นประกอบในนามของวัด เพื่อเป็นสวัสดิมงคลสืบต่อไป แต่ที่จริงชื่อวัดอันนี้ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์เคยรับสั่งเล่าให้ฟัง อันเป็นสิ่งที่น่ากลัวจะไม่สำเร็จในงานอันนั้น แต่ถึงอย่างนั้นก็ได้ทำรายงานยืนยัน ไปตามระเบียบการคณะสงฆ์ ก็ไม่มีท่านสังฆมนตรีองค์ใดองค์หนึ่งคัดค้าน ว่าไม่เหมาะสม เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็พอใจ
คำว่า “ อโศการาม ” เป็นคำสนธิเป็นคำ ๒ คำ คือ “ อโศก ” ที่แปลว่า “ ไร้ความเศร้า ” กับคำว่า “ อาราม ” ที่มีความหมายว่า “ แหล่งรื่นรมย์ ” เมื่อนำรวมกันแล้วจะได้ความหมายที่ดีคือ แหล่งรื่นรมย์ที่ไร้ความเศร้าหมอง ซึ่งเมื่อก้าวเท้าเข้าสู่ประตูแห่งธรรมะที่มีชื่ออย่าง “ วัดอโศกราม ” แห่งนี้แล้ว ก็คงต้องยอมรับว่าแหล่งนี้เป็น “ แหล่งรื่นรมย์ ” และ “ ร่มรื่น ” ไปด้วยพรรณไม้นานาชนิดไม่ว่าจะเป็นป่าโกงกาง ไม้ลำพู หรือปลงทอง แต่ถึงอย่างไรก็ดี วัดอโศการามนี้ยังแสดงให้เห็นความแตกจ่างจากคำว่า “ อาราม ” จากวัดทั่วๆ ไป
เมื่อมองไปรอบๆ บริเวณวัดแล้ว ความแตกต่างอย่างหนึ่งได้ชัดเจน คือ วัดนี้ไม่มีเมรุเหมือนวัดอื่นๆ ที่จำต้องมีเพื่อจัดงานฌาปาณกิจให้กับประชาชนทั่วไป เพราะวัดแห่งนี้ไม่รับเผาศพหรือสวดพระอภิธรรมภายในวัดที่จะได้รับการเผาแบบเชิงตะกอนเท่านั้น เพื่อให้ผู้พบเห็นปลงกับสังขารอันไม่เที่ยงของมนุษย์และอีกกิจกรรมหนึ่งที่ทางวัดจะจัดขึ้นเป็นประจำในวันที่ ๒๔ – ๒๖ เมษายนของทุกปี ซึ่งตรงกับวันมรณภาพของหลวงพ่อลี ธมมธโร เจ้าอาวาสรูปแรกของวัดอโศการาม
เป็นเรื่องแปลกตรงที่งานประจำปีนี้จะปราศจากงานรื่นเริง และมหรสพต่างๆ แต่สิ่งที่มาแทนที่ คือ การวิปัสสนาและการปฏิบัติธรรมของศิษยานุศิษย์ที่เลื่อมใส พิธีการ คือ จะมีการบวชพราหมณ์ในวันที่ 24 เมษายน ในตอนบ่ายโมง และจะมีการอบรมจนถึงกลางคืน รุ่งเช้า วันที่ ๒๕ เมษายน จะมีการฉันเช้า มีการเทศน์ และทำบุญในโรงทานให้ประชาชนได้เข้ามาทานอาหารฟรีโดยที่ประชาชนในชุมชนได้เข้ามาทานฟรีโดยที่ประชาชนในชุมชนจะเป็นผู้ให้ความร่วมมือในการทำบุญ ในแต่ละปีนั้นจะมีการนิมนต์พระจากวัดต่างๆ มาให้เท่าอายุของหลวงพ่อลี
ข้อมูลเพิ่มเติม
การเดินเที่ยวชมวัดแห่งนี้ จุดแรกที่ควรจะเข้าชม คือ ศาลาปฏิบัติธรรม ซึ่งเป็นศาลา 2 ชั้น ขนาดใหญ่ บันไดทางเดินขึ้น ลง กว้าง มีพญานาคคู่ประดับสวยงาม และศาลานี้ มีรั้วโครเมี่ยมกั้นไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้สุนัขเข้าไปรบกวนหรือปล่อยมูลทำสิ่งสกปรกให้วัด ดังนั้น เมื่อเปิดประตูเข้าไป อย่างลืมปิดไว้ด้วย
อุทยานพระเจ้าอโศกมหาราช ผู้ส่งเสริมการบุกเบิกเผยแพร่ศาสนาจากชมพูทวีป มายังสุวรรณภูมิ เป็นอุทยาน มีรูปปั้นขนาดใหญ๋ และมีเสานกอินทรี ตามรูปแบบที่เป็นสัญลักษณ์ของพระเจ้าอโศก และจะมีแม่ชี คอยจัดดอกไม้ธูปเทียนให้ไว้ อยู่ริมรั้วฝั่งหนึ่ง ประสงค์จะไหว้ทำทำบุญ ก็หยอดตู้ไป
และที่เป็นที่น่าสนใจมากที่สุดขอองวัดคือ ธูตังคเจดีย์ ซึ่งเป็นอาคาร 3 ชึ้น มีเจดีย์ใหญ๋ตรงกลาง และมีเจดีย์รอง รอบด้าน 4 องค์ และเจดีย์ประดับขนาดย่อมลงมา ประดับล้อมรอบ เป็นปฏิมากรรมที่สวยงามมาก แต่การเดินขึ้นบันอาคารธูตังคเจดียืนั้น ต้องถอดรองเท้า หากเดินทางไปเที่ยวชมช่วงกลางวัน จะร้อนเท้ามาก วัดจึงมีพรม เป็นทางเดินไว้ให้ ตรงไหนไม่มีพรมแทบจะเหยียบเท้าลงไม่ได้เลยทีเดียว
ภายในธุตังเจดีย์ มีพระบรมสารีริกธาตุ ของพระพุทธองค์ และรูปปั้นของเกจิ อาจารย์สุปฏิปันโน ทั่วประเทศไว้ให้กราบสักการะหลายองค์
นอกจากนั้น ผู้เที่ยววัด สามารถเดินเลียบไปตามทาง เพื่อชมชายฝั่งริมทะเล ซึ่งมีกำแพงกั้นน้ำทะเล แต่วิวทะเล เป็นลักษณะทะเลแบบป่าอนุรักษ์ ไม่ใช่แหล่งท่องเที่ยวแบบชายหาด ดังนั้น ความสวยงามแบบชายหาดจะไม่มีให้เห็น แต่จะเป็นแบบป่าชายเลน ให้ดูปู ดูปลา และป่าไม้ชายเลน



Share:

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Popular Posts

Blog Archive

Tags

Popular Posts