การบูชาท้าวเวสสุวรรณ เจ้าแห่งทรัพย์ เจ้าแห่งอำนาจบารมี

เชื่อกันว่า การบนบานท้าวเวสสุวรรณ หรือ ปู่เวสสุวรรณโณนั้น หากบนบานในเรื่องสำคัญต้องปฏิบัติตามนี้
๑. บนเรื่องการงาน ให้ท่านบนด้วยสังฆทานหนึ่งชุด
ในสังฆทานให้มีรองเท้าพระ ๑ คู่ อาสนสงฆ์ ๑ ผืน พระพุทธรูป ๑ องค์ เข็มกับด้าย ๑ ชุด
๒. บนเรื่องการเงิน ให้ท่านบนด้วยสังฆทานหนึ่งชุด ชำระหนี้สงฆ์ ๑๐๐ บาท หรือถวายพระพุทธรูป ๙ นิ้ว
๓. บนเรื่องความรักครอบครัว ให้บนด้วยการถวายดอกกุหลาบแดง บูชารูปปั้นท่านท้าวเวสสุวรรณที่วัดไหนก็ได้ ๙ ดอก ถือศีลแปด วันตัว(วันที่เราเกิด) และวันพระ
๔. บนเรื่องความเจ็บป่วยและสุขภาพ ให้ท่านบนด้วยการถวายหนังสือสวดมนต์ (ยิ่งเป็นสวด ๗ ตำนาน ๑๒ ตำนานยิ่งดี) ถวายวัดไหนก็ได้ ปล่อยปลา (กี่ตัวก็ได้)
๕. บนเรื่องการเรียน ให้บนด้วยการทำบุญสร้างพระไตรปิฎก ตำราเรียนนักธรรม หรือจะถวายเป็นค่าเล่าเรียนสงฆ์หรือสามเณรในวัดที่มีพระสงฆ์เรียนพระ ปริยัติธรรมก็ได้
บูชา คือ การแสดงความเคารพสักการะ การกราบไหว้ การยกย่องนับถือบุคคลที่ควรเคารพนับถือ เช่น พระพุทธรูป พระสงฆ์ บิดามารดา คณุอาจารย์ ญาติผู้ใหญ่ ถือเป็นเหตุนำความสุข ความเจริญ และความก้าวหน้าในชีวิตมาให้แก่ผู้ทำ และเป็นวัฒนธรรมแบบไทยๆ ที่ได้รับการสั่งสอน สั่งสม ให้กระทำ การอีกแนวทางหนึ่งของการแสดงความกตัญญู เพราะคนไทยเชื่อว่า การจะแสดงความเคารพสักการะใคร อะไร สักอย่าง สิ่งนั้นต้องมีบุญคุณ มีสิ่งดีงาม มึความดีงามให้กราบ ให้ไหว้
  1. อามิสบูชา เป็นการบูชาด้วยสิ่งของ ปรนนิบัติดูแล ให้ข้าวน้ำ ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค ค่าใช้จ่าย และบูชาด้วยดอกไม้ ธูป เทียน หรือสิ่งของใดอันมีคุณค่า ด้วยราคา หรือทางจิตใจ จากผู้ให้ สิ่งนั้น เรียกกว่า อามิสบูชา
  2. ปฏิบัติบูชา เป็นการบูชาด้วยการปฏิบัติ คือ ปฏิบัติตามแบบที่ท่านทำ ปฏิบัติตามคำที่ท่านสอน ได้แก่ท่านปฏิบัติ มาอย่างไรก็ปฏิบัติตาม ท่านสอนอย่างไร แนะนำอย่างไรก็ทำตามด้วยความเต็มใจ ทำตามปฏิปทา คุณธรรมที่ท่านสั่งสอน ในที่นี่ ต้องเป็นธรรมะที่ถูกต้อง ตามแนวทางพระพุทธศาสนาเท่านั้น หากสอนผิดๆ แต่จะให้ปฏิบัติตาม ก็ถือว่า ไม่ควรทำตาม
การบูชา เกิดจากความศรัทธาความเชื่อ ความเชื่อมั่นต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งลำพังศรัทธา อย่างเดียว พระพุทธองค์ ไม่เคยสรรเสริญการศรัทธา แต่พระองค์ทรงสอนเสมอ ว่า ที่ใดมีศรัทธา ที่นั่น ต้องมีปัญญา ควบคู่ด้วยเสมอ
จะสังเกตุเห็นได้ว่า คำสอนทางพระพุทธศาสนา หากหลักธรรมข้อใด มีคำว่าศรัทธา ในหลักธรรมข้อนั้น ต้องมีคำว่า ปัญญา ควบคู่อยู่ด้วยเสมอไป ไม่เคยมีที่จะให้ศรัทธาเพียงอย่างเดียว โดยไม่มีสติปัญญายั่งคิด
อย่าเพิ่งด่วนเชื่อ หรือศรัทธา สิ่งใด โดยไม่ไตร่ตรองพิจารณาก่อน
Share:

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Popular Posts

Blog Archive

Tags

Popular Posts

คลังบทความของบล็อก